ข้อเสนอในการเปิดพิ้นที่รายการโทรทัศน์สร้างสรรค์เพื่อเด็กปฐมวัย

ข้อเสนอในการเปิดพิ้นที่รายการโทรทัศน์สร้างสรรค์เพื่อเด็กปฐมวัย


โดย ภาคีทีวีเด็กปฐมวัย

ประการที่ 1 (Building new prime- time) พัฒนาช่องทางการออกอากาศรายเด็กในฟรีทีวีเดิมในช่วงเวลา 16.00 – 20.00 น. ให้เป็น Prime time ของเด็กจริงๆ เพิ่มมากขึ้นจำนวนรายการและครอบคลุมของทุกความหลากในทุกด้าน เช่น กลุ่มอายุของเด็ก ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ความหลากหลายของกลุ่มผู้ผลิต เป็นต้น

ข้อเสนอแนะเชิงวิธีการ

1. สำหรับกองทุนที่จะเกิดขึ้นควรนำมาสนับสนุนในเรื่องของค่าเวลาการออกอากาศในช่องฟรีทีวีเพื่อให้ ทางสถานีสามารถลดต้นทุนค่าเวลาได้เหมาะสม และเพื่อให้ผู้ผลิตหาผู้สนับสนุนได้ไม่ยากจนเกินไป

2. Matching Fund รายการโทรทัศน์ สำหรับเด็กกับองค์กรธุรกิจและรัฐวิสาหกิจ สนับสนุนให้มีการทำ CSR ในรูปแบบของรายการเด็กเพิ่มมากยิ่งขึ้น

3. ใช้กลไกฏหมายสนับสนุนการผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับกลุ่มเด็ก เช่น การลดหย่อนภาษี เป็นต้น



ประการที่ 2 พัฒนาคุณภาพเนื้อหาของรายการให้เหมาะสมกับระดับอายุเด็กแต่ละระดับ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กปฐมวัย รายการเด็กมีการสนับสนุนจากผู้สนับสนุนได้น้อยอยู่แล้ว ยังมีกฎหมายเรื่องโฆษณาขนม เนื่องจากสินค้าอื่นๆก็ไม่ได้มีกลุ่มเป้าหมายในรายการ จึงมีการปรับปรุงให้เป็น “ ท” คือ สร้างรายการที่คนตัดสินใจซื้อสินค้าดูแล้วถูกใจด้วย แต่เนื้อหาหลายประการอาจจะไม่ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กเล็ก

ข้อเสนอแนะเชิงวิธีการ

1. พัฒนาองค์กรเครือข่ายการทำงานร่วมกันของผู้ผลิตและกลุ่มผู้บริโภค (พ่อแม่ คุณครู) และผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆที่มีความปรารถนาดีต่อเด็ก อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง เพื่อร่วมสร้างแนวทางการผลิตรายการที่ตรงความต้องการและเนื้อหาทันสถานการณ์ปัจจุบันของสังคม

ประการที่ 3 ส่งเสริมผู้ผลิตรายการโทรทัศน์รุ่นใหม่ให้ตระหนักในความสำคัญของ “สื่อ” ต่อการพัฒนาเด็ก และพัฒนาศักยภาพของผู้ที่สนใจทำงานด้านการผลิตรายการสำหรับเด็ก

ข้อเสนอแนะเชิงวิธีการ

1. การร่วมพัฒนามาตรฐานในการผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กโดยกลุ่มผู้ผลิตร่วมกับสหวิชาชีพต่างๆ เช่น รายการเด็กต้องผ่านการเทสต์กับเด็กกลุ่มเป้าหมายก่อนออกอากาศ เป็นต้น

2. ทำข้อมูลพื้นฐานด้านผลิตรายการโทรทัศน์เด็กและ ข้อมูลของกลุ่มคนที่ทำงานด้านเด็ก ผู้ผลิต และผู้สนับสนุนเพื่อให้คนที่สนใจเข้ามาค้นคว้าได้

3. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ผลิตรายใหญ่และรายย่อย



สำหรับบทบาทการดำเนินงานของภาคีทีวีเด็กปฐมวัย

1. ระดมทรัพยากรทุนในด้านต่างๆ ทั้งบุคลากร ทุนทรัพย์ องค์ความรู้จากหลากหลายสาขาที่ต้องการทำรายการโทรทัศนำหรับเด็กเพื่อทำฐานข้อมูลความสามารถด้านต่างๆของภาคี เพื่อพัฒนาการทำงานร่วมกันต่อไป

2. จัดพัฒนาองค์ความรู้ด้านการผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กโดยผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ในรูปแบบของการอบรม

3. พัฒนาต้นแบบรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กและทดลองให้เด็กๆกลุ่มเป้าหมายรับชมเพื่อศึกษา โดยอยู่ขั้นตอนพัฒนามาตรฐานของการผลิตรายการเด็กปฐมวัยในกลุ่มสมาชิกภาคีด้วยกัน โดยรายละเอียดมีดังนี้ คือ

- Filed Test การทดลองนำเสนอรายการต่อเด็กกลุ่มเป้าหมาย ว่ามีความน่าสนใจเข้าถึงเด็กตามกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด หรือไม่

- Safety Test การนำต้นแบบรายการเพื่อให้นักวิชาการ (ตามแต่ละเนื้อหารายการ) เป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้อง

- Product test นำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิติเคราะห์ในเรื่องของการออกแบบรายการ ความน่าสนใจ

- Costumer ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดประเมินมูลค่าทางการตลาดของแต่ละรายการภาคีทำขึ้น รวมทั้งกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครอง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Twitter

Kid TV Network คือใคร?

เราคือ "ภาคีทีวีเด็กปฐมวัย"
การรวมพลคนปรารถนาดีที่จะทำรายการทีวีเพื่อเด็กปฐมวัย

ความเป็นมา

ณ สตูดิโอเห็ดหรรษา ซึ่งครั้งหนึ่งในอดีตเคยเป็นสถานที่ผลิตรายการ และที่ชุมนุมของสมาชิก “สโมสรผึ้งน้อย” การเด็กชื่อดังของเมืองไทยเกือบ 30 ปีก่อน วันนี้ สตูดิโอแห่งนี้กลับมีชีวิตชีวาอีกครั้ง ในฐานะผู้บ่มเพาะและฟูมฟักกลุ่มผู้มีไฟฝันผลิตรายการสำหรับเด็กปฐมวัย ภายใต้ชื่อ “ภาคีทีวีเด็ก”

โครงการอบรม “บทเพลงสถานีสร้างสรรค์รายการเพื่อเด็ก”ณ สตูดิโอเห็ดหรรษา มีคุณภัทรจารีย์ อัยศิริ หรือ “น้านิต แห่งสโมสรผึ้งน้อย” เจ้าของสถาบันเพื่อการเรียนรู้เห็ดหรรษา เป็นผู้ดำเนินการอบรม โดยได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจาก สสส. ระหว่างเดือนมีนาคม - มิถุนายน ๒๕๕๒

แม้ โครงการอบรมสิ้นสุดลง แต่ความสัมพันธ์ของกลุ่มต่างๆ ยังคงต่อเนื่อง เพื่อต่อยอดไอเดียของกลุ่มผู้เข้าอบรมขึ้นเป็นรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก มี “น้านิต” เป็นแกนนำ และสตูดิโอเห็ดหรรษาเป็นศูนย์กลางการพบปะสังสรรค์

ภาคีทีวีเด็ก กับวิสัยทัศน์ & พันธกิจ : สร้างสรรค์ “สถานีทีวีเด็ก” ... เติมส่วนที่ขาดหายให้สังคมไทย

วิสัยทัศน์ - Vision

เด็ก ไทยช่วงปฐมวัย และประถมต้น (อายุ 3-8 ปี) ได้ดูรายการโทรทัศน์คุณภาพซึ่งผลิตขึ้นสำหรับเด็ก ปราศจากสารปนเปื้อน ไร้มลพิษทางอารมณ์และจิตใจ ช่วยให้เด็กไทยมีพัฒนาการด้าน IQ, EQ, MQ, PQ ที่เหมาะสมกับวัย มีส่วนร่วมสร้างเด็กไทยให้เติบโตเป็นเยาวชนและผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในโลกโลกา ภิวัฒน์ โดยคงรากเหง้าความเป็นไทยไว้ได้อย่างเหมาะสม

พันธกิจ - Missions

1. ผู้สร้างสรรค์ “สถานีทีวีเด็ก”
2. อบรมและพัฒนาผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ที่สามารถผลิตรายการคุณภาพสำหรับเด็ก
3. รวบรวมสาขาวิชาชีพและวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก
4. ให้เด็กไทยมีโอกาสได้ชมรายการโทรทัศน์คุณภาพสำหรับเด็กอย่างเท่าเทียมกัน

สถานีทีวีเด็ก = ?

สถานีทีวีเด็ก เป็นทั้งสัญลักษณ์และโอกาสให้เด็กไทยได้ชมรายโทรทัศน์คุณภาพสำหรับเด็กอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าเด็กที่อยู่ในเขตเมือง หรือเด็กในพื้นที่ชนบท เด็กซึ่งผู้ปกครองมีฐานะดี หรือมีฐานะยากจน ... “สถานีทีวีเด็ก” จึงจัดให้มีช่องทางการเผยแพร่รายการเป็น 2 ช่องทางหลัก คือ

1. สถานีที่ไม่หวังผลกำไร (Non-commercial Channels) เช่น
สถานีทีวีไทย การออก event หรือจัดจำหน่ายแผ่นตามโรงเรียน

2. สถานีเชิงพาณิชย์ (Commercial Channels)
- การวางขายแผ่น cd, dvd ณ ร้าน B2S
- สถานีโทรทัศน์ฟรีทีวี 3, 5, 7, 9, 11, และเคเบิ้ลต่างๆ

ผู้ติดตาม

Webstats