All I Really Need To Know I Learned In Kindergarten

ไม่รู้มีใครเคยผ่านๆ หนังสือเล่มนี้บ้างหรือเปล่า?


"สิ่งที่ฉันต้องรู้ ฉันเรียนตอนอยู่อนุบาล" เขียนโดย Robert Fulghum เข้าใจว่ามีคนแปลเป็นภาษาไทยด้วยแหละ เอามาเล่าสู่กันฟัง เผื่อจะเป็นประโยชน์กับภาคีจะเอาไปทำประโยชน์ได้มั่ง

หนังสือเรื่องนี้เป็นเรื่องของผู้ใหญ่ที่มองย้อนไปสู่วัยเด็กว่า เอ... จริงๆ พฤติกรรมของผู้ใหญ่ที่ห่วยๆ นี่ ที่จริงคุณครูอนุบาลก็สอนกันมาแล้วนี่นา (ทำไมมันยังห่วยๆ อยู่ได้น้าาา)

ตอนเด็กๆ เราถูกสอนให้รู้จักนี่... พวกนี้เลย:
  • แบ่งปันกัน
    (Share everything.)
  • เล่นกันอย่างแฟร์ๆ ไม่เอาเปรียบคนอื่นเขา
    (Play fair.)
  • อย่าทุบตีคนอื่นเขา
    (Don't hit people.)
  • เวลาใช้อะไรแล้ว รู้จักเก็บเข้าที่เดิมด้วย
    (Put things back where you found them.)
  • เวลาทำไรสกปรกแล้ว... ติดตามผลงานด้วยจ้าาา
    (Clean up your own mess.)
  • ไม่ไปอุบอิ๊บของคนอื่นมาเป็นของตัว
    (Don't take things that aren't yours.)
  • พูดคำว่า ขอโทษ เวลาทำให้คนอื่น "เจ็บ"
    (Say you're sorry when you hurt somebody.)
  • ล้างมือก่อนกินข้าว
    (Wash your hands before you eat.)
  • เวลาเข้าส้วมแล้ว กดน้ำด้วย
    (Flush.)
  • ใช้ชีวิตให้ลงตัวในแต่ละวัน เรียนบ้าง คิดบ้าง วาดรูปบ้าง ระบายสีบ้าง ร้องเพลงบ้าง เต้นบ้าง เล่นบ้าง และทำงานบ้าง
    (Live a balanced life - learn some and think some and draw and paint and sing and dance and play and work every day some.)
  • งีบตอนบ่าย
    (Take a nap every afternoon.)
  • เวลาออกไปข้างนอก ระวังรถ จับมือกัน และอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่ม
    (When you go out into the world, watch out for traffic, hold hands, and stick together.)
  • ยอมรับความมหัศจรรย์
    (Be aware of wonder.) เหมือนกับเราเพาะเมล็ดแล้ว ทำไมต้นมันถึงชี้ขึ้นฟ้า แล้วก็รากทิ่มลงดิน ซึ่งก็ไม่มีใครให้คำตอบกับสิ่งเหล่านี้ได้
  • ปลาทอง หนู (สัตว์เลี้ยง) ตายได้ เช่นเดียวกับเรา
    (Goldfish and hamsters and white mice and even the little seed in the Styrofoam cup - they all die. So do we.)
  • คำแรกที่เราเรียนรู้ และเป็นคำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือคำว่า "ดู"
    (And then remember the Dick-and-Jane books and the first word you learned - the biggest word of all - LOOK.)
เออเนอะ ทำไมเราเรียนรู้เรื่องพวกนี้แล้ว แต่ตอนโตหลายคนก็ยังไม่ได้เป็นแบบนี้เล้ย...

อ่อ...ข้อสุดท้ายที่เขาพูดถึงหนังสือ Dick and Janeนี่ อันนี้เป็น series ของตำราสำหรับเด็กที่ใช้สอนเด็กอเมริกันตั้งแต่ปี 1930s - 1970s ประมาณ มานี มานะ ปิติ ชูใจของเรา แต่เขาใช้สอนเด็กตั้งแต่ Grade 1-8

เอ... หนังสือมานี มานะ ปิติ ชูใจ นี่มันมีผลกับการเลือกเรียนคณะ หรือทำอาชีพมั้ยน้อ เห็นเดี๋ยวนี้เวลาเขาจะเรียนคณะอะไร จะทำงานอะไรให้นึกถึง มานี (Money) ซะเยอะ มานะ ปิติ ชูใจ ไม่ค่อยเหลือแระ

อ้าว... ชวนคุยเรื่องสิ่งที่ฉันต้องรู้ ฉันเรียนตอนอยู่อนุบาลดีๆ ไหงมาลง มานี ไม่มีมานะ ไม่ค่อยปิติ ไม่มีอะไรชูใจได้น้อ...

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Twitter

Kid TV Network คือใคร?

เราคือ "ภาคีทีวีเด็กปฐมวัย"
การรวมพลคนปรารถนาดีที่จะทำรายการทีวีเพื่อเด็กปฐมวัย

ความเป็นมา

ณ สตูดิโอเห็ดหรรษา ซึ่งครั้งหนึ่งในอดีตเคยเป็นสถานที่ผลิตรายการ และที่ชุมนุมของสมาชิก “สโมสรผึ้งน้อย” การเด็กชื่อดังของเมืองไทยเกือบ 30 ปีก่อน วันนี้ สตูดิโอแห่งนี้กลับมีชีวิตชีวาอีกครั้ง ในฐานะผู้บ่มเพาะและฟูมฟักกลุ่มผู้มีไฟฝันผลิตรายการสำหรับเด็กปฐมวัย ภายใต้ชื่อ “ภาคีทีวีเด็ก”

โครงการอบรม “บทเพลงสถานีสร้างสรรค์รายการเพื่อเด็ก”ณ สตูดิโอเห็ดหรรษา มีคุณภัทรจารีย์ อัยศิริ หรือ “น้านิต แห่งสโมสรผึ้งน้อย” เจ้าของสถาบันเพื่อการเรียนรู้เห็ดหรรษา เป็นผู้ดำเนินการอบรม โดยได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจาก สสส. ระหว่างเดือนมีนาคม - มิถุนายน ๒๕๕๒

แม้ โครงการอบรมสิ้นสุดลง แต่ความสัมพันธ์ของกลุ่มต่างๆ ยังคงต่อเนื่อง เพื่อต่อยอดไอเดียของกลุ่มผู้เข้าอบรมขึ้นเป็นรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก มี “น้านิต” เป็นแกนนำ และสตูดิโอเห็ดหรรษาเป็นศูนย์กลางการพบปะสังสรรค์

ภาคีทีวีเด็ก กับวิสัยทัศน์ & พันธกิจ : สร้างสรรค์ “สถานีทีวีเด็ก” ... เติมส่วนที่ขาดหายให้สังคมไทย

วิสัยทัศน์ - Vision

เด็ก ไทยช่วงปฐมวัย และประถมต้น (อายุ 3-8 ปี) ได้ดูรายการโทรทัศน์คุณภาพซึ่งผลิตขึ้นสำหรับเด็ก ปราศจากสารปนเปื้อน ไร้มลพิษทางอารมณ์และจิตใจ ช่วยให้เด็กไทยมีพัฒนาการด้าน IQ, EQ, MQ, PQ ที่เหมาะสมกับวัย มีส่วนร่วมสร้างเด็กไทยให้เติบโตเป็นเยาวชนและผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในโลกโลกา ภิวัฒน์ โดยคงรากเหง้าความเป็นไทยไว้ได้อย่างเหมาะสม

พันธกิจ - Missions

1. ผู้สร้างสรรค์ “สถานีทีวีเด็ก”
2. อบรมและพัฒนาผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ที่สามารถผลิตรายการคุณภาพสำหรับเด็ก
3. รวบรวมสาขาวิชาชีพและวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก
4. ให้เด็กไทยมีโอกาสได้ชมรายการโทรทัศน์คุณภาพสำหรับเด็กอย่างเท่าเทียมกัน

สถานีทีวีเด็ก = ?

สถานีทีวีเด็ก เป็นทั้งสัญลักษณ์และโอกาสให้เด็กไทยได้ชมรายโทรทัศน์คุณภาพสำหรับเด็กอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าเด็กที่อยู่ในเขตเมือง หรือเด็กในพื้นที่ชนบท เด็กซึ่งผู้ปกครองมีฐานะดี หรือมีฐานะยากจน ... “สถานีทีวีเด็ก” จึงจัดให้มีช่องทางการเผยแพร่รายการเป็น 2 ช่องทางหลัก คือ

1. สถานีที่ไม่หวังผลกำไร (Non-commercial Channels) เช่น
สถานีทีวีไทย การออก event หรือจัดจำหน่ายแผ่นตามโรงเรียน

2. สถานีเชิงพาณิชย์ (Commercial Channels)
- การวางขายแผ่น cd, dvd ณ ร้าน B2S
- สถานีโทรทัศน์ฟรีทีวี 3, 5, 7, 9, 11, และเคเบิ้ลต่างๆ

ผู้ติดตาม

Webstats