“มาทำความรู้จักกับการเขียน Story Board”

สรุปบทเรียนการอบรมบ่มเพาะคนทำนิทานทีวี

หัดวาด Story Board กับ อ. ทวีลาภ เอกธรรมกิจ
ตอนที่ 1 “มาทำความรู้จักกับการเขียน Story Board”
วันที่ 12 ธันวาคม 2552 ณ สตูดิโอเห็ดหรรษา


โดย... เมษา แจ่มฟ้า


“มาทำความรู้จักกับการเขียน Story Board”

Story Board คือ เครื่องมือที่ช่วยให้ผู้เขียนบท ผู้กำกับ ตากล้อง ตลอดจนนักแสดง ได้เข้าใจในบทมากยิ่งขึ้น และเห็นภาพร่วมกัน และเข้าใจตรงกัน

การวาด Story Board นั้นไม่จำเป็นต้องวาดรูปเก่งเสมอไปเพียงแค่วาดออกมาให้ดูเข้าใจ รู้เรื่องก็ใช้ได้แล้ว
ในการวาด Story Board ไม่นิยมเขียนข้อความลงไปในกรอบสี่เหลี่ยมเพราะจะรบกวนสายตาและมุมมองภาพ แต่อาจจะเขียนอธิบายกำกับมากขึ้นเพื่อความเข้าใจ โดยส่วนอธิบายมักอยู่ข้างล่างของภาพ

ลักษณะของ Story Board จะเป็นกรอบสี่เหลี่ยม เรียงกันตามเรื่องราว(บท) แทนกรอบของจอโทรทัศน์จะบอกเล่าเรื่องราวด้วยภาพ ซึ่งมีทั้งมุมมอง และขนาดภาพที่แตกต่างกัน

มุมภาพที่ใช้แทนสายตาแบ่งออกเป็นคร่าวๆดังนี้
Eye Level มุมระดับสายตา ความสูงของกล้อง จะอยู่ในระดับสายตา ผู้ชมจะเป็นภาพในระดับปกติเท่ากับความสูงของคนทั่วๆไป
Bird’s Eye View เป็นมุมสูงเหมือนสายตาของนกที่มองลงมา กล้องจะอยู่สูงกว่าวัตถุที่ต้องการถ่าย แล้วกดมุมกล้องลงมา ผู้ชมจะเห็นภาพในมุมสูงเหมือนอยู่ข้างบน
Ant’s Eye View เป็นมุมสายตาของมด กล้องจะอยู่ต่ำมากเหนือระดับพื้นดิน กล้องจะอยู่ต่ำกว่าวัตถุแล้วถ่ายเสยวัตถุขึ้นไป ผู้ชมจะเห็นภาพในมุมต่ำเหมือนแหงนหน้ามองดูสิ่งที่อยู่สูงกว่า


ขนาดของภาพที่ใช้เล่าเรื่องราว ยกตัวอย่างเปรียบเทียบกับมาตราส่วนของคนดังนี้
Extreme Long Shot ( ELS) ภาพระยะไกลสุด จะเห็นคนทั้งตัวและพื้นที่ๆยืนอยู่ ภาพของคนที่ได้จะเต็มตัวแต่มีขนาดเล็ก ถ้าเป็นทิวทัศน์จะเป็นทิวทัศน์ในระยะไกล เห็นภาพรวมของสิ่งที่ต้องการโชว์ทั้งหมด ใช้เพื่อให้เห้นภาพรวมของวัตถุ+บรรยากาศโดยรอบ
Long Shot ( LS) ภาพระยะไกล ถ้าเป็นคนจะเห็นเป็นคนที่เต็มตัว หรืออาจจะเรียกว่า Full Shot ก็ได้ ใช้เพื่อให้เห็นภาพโดยรวมของวัตถุทั้งหมด
Medium Shot ( MS ) ภาพระยะปานกลาง เห็นภาพตั้งแต่ต้นขาขึ้นไปจรดศีรษะ
Medium Close Up (MCU) ภาพระยะใกล้ปานกลาง เห็นคนในระดับอกขึ้นไป
Close Up ภาพระยะใกล้ (CU) เห็นภาพในระยะใกล้ จะเห็นคนแค่ใบหน้า
Extreme Close Up (ECU) ภาพระยะใกล้มาก เห็นใบหน้าแค่บางส่วน หรือเจาะเฉพาะอวัยวะ เช่นเฉพาะดวงตา จะเห็นรายละเอียดชัดเจนมาก ใช้เพื่อเน้นให้เห็นรายละเอียดของวัตถุหรือเน้นตัววัตถุอย่างมาก

ในการวาด story Board นี้ผู้วาดจำเป็นต้องเรียงลำดับเรื่องราวที่ต้องการแสดงให้เห็นให้ดีเสียก่อนว่าผู้ชมจะเห็นอะไรก่อนหลัง เห็นอะไรบ้างเน้นอะไรบ้างแล้วเขียนออกมาเป็นShot ตั้งแต่ต้นจนจบ เพื่อให้การเล่าเรื่องนั้นสมบูรณ์ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะสื่อ ทั้งนี้ยังต้องเลือกใช้มุมมองของภาพ ขนาดของภาพให้เหมาะสมและสื่อความหมาย รวมไปถึงทักษะการเปิดเรื่อง ดำเนินเรื่อง และปิดเรื่องให้น่าสนใจ อีกด้วย

:)

หัดวาด Storyboard กับ อ.ทวีลาภ เอกธรรมกิจ

บรรยากาศการอบรมบ่มเพาะคนทำนิทานทีวี
ในเรื่องการหัดวาดStoryBoardโดยอาจารย์ทวีลาภ เอกธรรมกิจ
เมื่อ 12 ธันวาคม 2552 เป็นสัปดาห์แรก
เริ่มด้วยการทำความรู้จักกับการเขียน Story Board
พวกเราได้หัดเขียน Story Board ง่ายๆด้วยเรื่องราวของตัวเอง
พร้อมความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเขียน ขนาดภาพ และตัวอย่างงานจริง
นอกจากนี้อาจารย์ยังได้ช่วยเพิ่มเติม Story Boardของแต่ละคน
ให้มีสีสันในการเล่าเรื่องให้น่าสนุกและชวนติดตาม
หลังเลิกเรียนมีประชุมภาคีอีกนิดหน่อยเพื่อร่วมระดมสมองคิดรายการกลางของพวกเรา
ส่วนความคืบหน้ารายการเป็นอย่างไรต้องติดตามต่อไปจ้ะ


ยกตัวอย่าง Story Board ของจริง











ขนาดภาพต่างๆในการเล่าเรื่อง











ล้อมวงดูงานวาด Story Boardของเพื่อนๆ













อาจารย์ช่วยเพิ่มเติมงานของแต่ละคนให้สนุกขึ้น



ประชุมภาคีปิดท้าย :)

ข้อเสนอในการเปิดพิ้นที่รายการโทรทัศน์สร้างสรรค์เพื่อเด็กปฐมวัย

ข้อเสนอในการเปิดพิ้นที่รายการโทรทัศน์สร้างสรรค์เพื่อเด็กปฐมวัย


โดย ภาคีทีวีเด็กปฐมวัย

ประการที่ 1 (Building new prime- time) พัฒนาช่องทางการออกอากาศรายเด็กในฟรีทีวีเดิมในช่วงเวลา 16.00 – 20.00 น. ให้เป็น Prime time ของเด็กจริงๆ เพิ่มมากขึ้นจำนวนรายการและครอบคลุมของทุกความหลากในทุกด้าน เช่น กลุ่มอายุของเด็ก ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ความหลากหลายของกลุ่มผู้ผลิต เป็นต้น

ข้อเสนอแนะเชิงวิธีการ

1. สำหรับกองทุนที่จะเกิดขึ้นควรนำมาสนับสนุนในเรื่องของค่าเวลาการออกอากาศในช่องฟรีทีวีเพื่อให้ ทางสถานีสามารถลดต้นทุนค่าเวลาได้เหมาะสม และเพื่อให้ผู้ผลิตหาผู้สนับสนุนได้ไม่ยากจนเกินไป

2. Matching Fund รายการโทรทัศน์ สำหรับเด็กกับองค์กรธุรกิจและรัฐวิสาหกิจ สนับสนุนให้มีการทำ CSR ในรูปแบบของรายการเด็กเพิ่มมากยิ่งขึ้น

3. ใช้กลไกฏหมายสนับสนุนการผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับกลุ่มเด็ก เช่น การลดหย่อนภาษี เป็นต้น



ประการที่ 2 พัฒนาคุณภาพเนื้อหาของรายการให้เหมาะสมกับระดับอายุเด็กแต่ละระดับ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กปฐมวัย รายการเด็กมีการสนับสนุนจากผู้สนับสนุนได้น้อยอยู่แล้ว ยังมีกฎหมายเรื่องโฆษณาขนม เนื่องจากสินค้าอื่นๆก็ไม่ได้มีกลุ่มเป้าหมายในรายการ จึงมีการปรับปรุงให้เป็น “ ท” คือ สร้างรายการที่คนตัดสินใจซื้อสินค้าดูแล้วถูกใจด้วย แต่เนื้อหาหลายประการอาจจะไม่ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กเล็ก

ข้อเสนอแนะเชิงวิธีการ

1. พัฒนาองค์กรเครือข่ายการทำงานร่วมกันของผู้ผลิตและกลุ่มผู้บริโภค (พ่อแม่ คุณครู) และผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆที่มีความปรารถนาดีต่อเด็ก อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง เพื่อร่วมสร้างแนวทางการผลิตรายการที่ตรงความต้องการและเนื้อหาทันสถานการณ์ปัจจุบันของสังคม

ประการที่ 3 ส่งเสริมผู้ผลิตรายการโทรทัศน์รุ่นใหม่ให้ตระหนักในความสำคัญของ “สื่อ” ต่อการพัฒนาเด็ก และพัฒนาศักยภาพของผู้ที่สนใจทำงานด้านการผลิตรายการสำหรับเด็ก

ข้อเสนอแนะเชิงวิธีการ

1. การร่วมพัฒนามาตรฐานในการผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กโดยกลุ่มผู้ผลิตร่วมกับสหวิชาชีพต่างๆ เช่น รายการเด็กต้องผ่านการเทสต์กับเด็กกลุ่มเป้าหมายก่อนออกอากาศ เป็นต้น

2. ทำข้อมูลพื้นฐานด้านผลิตรายการโทรทัศน์เด็กและ ข้อมูลของกลุ่มคนที่ทำงานด้านเด็ก ผู้ผลิต และผู้สนับสนุนเพื่อให้คนที่สนใจเข้ามาค้นคว้าได้

3. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ผลิตรายใหญ่และรายย่อย



สำหรับบทบาทการดำเนินงานของภาคีทีวีเด็กปฐมวัย

1. ระดมทรัพยากรทุนในด้านต่างๆ ทั้งบุคลากร ทุนทรัพย์ องค์ความรู้จากหลากหลายสาขาที่ต้องการทำรายการโทรทัศนำหรับเด็กเพื่อทำฐานข้อมูลความสามารถด้านต่างๆของภาคี เพื่อพัฒนาการทำงานร่วมกันต่อไป

2. จัดพัฒนาองค์ความรู้ด้านการผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กโดยผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ในรูปแบบของการอบรม

3. พัฒนาต้นแบบรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กและทดลองให้เด็กๆกลุ่มเป้าหมายรับชมเพื่อศึกษา โดยอยู่ขั้นตอนพัฒนามาตรฐานของการผลิตรายการเด็กปฐมวัยในกลุ่มสมาชิกภาคีด้วยกัน โดยรายละเอียดมีดังนี้ คือ

- Filed Test การทดลองนำเสนอรายการต่อเด็กกลุ่มเป้าหมาย ว่ามีความน่าสนใจเข้าถึงเด็กตามกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด หรือไม่

- Safety Test การนำต้นแบบรายการเพื่อให้นักวิชาการ (ตามแต่ละเนื้อหารายการ) เป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้อง

- Product test นำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิติเคราะห์ในเรื่องของการออกแบบรายการ ความน่าสนใจ

- Costumer ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดประเมินมูลค่าทางการตลาดของแต่ละรายการภาคีทำขึ้น รวมทั้งกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครอง

ใครเป็นใครในภาคีทีวีเด็กปฐมวัย

สถานัทีวีของเด็กกับนานาเหตุผล...

หากวันนี้....เมืองไทย
จะมีสถานีทีวีสำหรับเด็กโดยเฉพาะ...จะดีอย่างไร?
ดีกับใคร?
ทำไมต้องมี?
แล้วจะมีเมื่อไร?
คิดออกช่วย  comment มาทีนะคะ

All I Really Need To Know I Learned In Kindergarten

ไม่รู้มีใครเคยผ่านๆ หนังสือเล่มนี้บ้างหรือเปล่า?


"สิ่งที่ฉันต้องรู้ ฉันเรียนตอนอยู่อนุบาล" เขียนโดย Robert Fulghum เข้าใจว่ามีคนแปลเป็นภาษาไทยด้วยแหละ เอามาเล่าสู่กันฟัง เผื่อจะเป็นประโยชน์กับภาคีจะเอาไปทำประโยชน์ได้มั่ง

หนังสือเรื่องนี้เป็นเรื่องของผู้ใหญ่ที่มองย้อนไปสู่วัยเด็กว่า เอ... จริงๆ พฤติกรรมของผู้ใหญ่ที่ห่วยๆ นี่ ที่จริงคุณครูอนุบาลก็สอนกันมาแล้วนี่นา (ทำไมมันยังห่วยๆ อยู่ได้น้าาา)

ตอนเด็กๆ เราถูกสอนให้รู้จักนี่... พวกนี้เลย:
  • แบ่งปันกัน
    (Share everything.)
  • เล่นกันอย่างแฟร์ๆ ไม่เอาเปรียบคนอื่นเขา
    (Play fair.)
  • อย่าทุบตีคนอื่นเขา
    (Don't hit people.)
  • เวลาใช้อะไรแล้ว รู้จักเก็บเข้าที่เดิมด้วย
    (Put things back where you found them.)
  • เวลาทำไรสกปรกแล้ว... ติดตามผลงานด้วยจ้าาา
    (Clean up your own mess.)
  • ไม่ไปอุบอิ๊บของคนอื่นมาเป็นของตัว
    (Don't take things that aren't yours.)
  • พูดคำว่า ขอโทษ เวลาทำให้คนอื่น "เจ็บ"
    (Say you're sorry when you hurt somebody.)
  • ล้างมือก่อนกินข้าว
    (Wash your hands before you eat.)
  • เวลาเข้าส้วมแล้ว กดน้ำด้วย
    (Flush.)
  • ใช้ชีวิตให้ลงตัวในแต่ละวัน เรียนบ้าง คิดบ้าง วาดรูปบ้าง ระบายสีบ้าง ร้องเพลงบ้าง เต้นบ้าง เล่นบ้าง และทำงานบ้าง
    (Live a balanced life - learn some and think some and draw and paint and sing and dance and play and work every day some.)
  • งีบตอนบ่าย
    (Take a nap every afternoon.)
  • เวลาออกไปข้างนอก ระวังรถ จับมือกัน และอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่ม
    (When you go out into the world, watch out for traffic, hold hands, and stick together.)
  • ยอมรับความมหัศจรรย์
    (Be aware of wonder.) เหมือนกับเราเพาะเมล็ดแล้ว ทำไมต้นมันถึงชี้ขึ้นฟ้า แล้วก็รากทิ่มลงดิน ซึ่งก็ไม่มีใครให้คำตอบกับสิ่งเหล่านี้ได้
  • ปลาทอง หนู (สัตว์เลี้ยง) ตายได้ เช่นเดียวกับเรา
    (Goldfish and hamsters and white mice and even the little seed in the Styrofoam cup - they all die. So do we.)
  • คำแรกที่เราเรียนรู้ และเป็นคำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือคำว่า "ดู"
    (And then remember the Dick-and-Jane books and the first word you learned - the biggest word of all - LOOK.)
เออเนอะ ทำไมเราเรียนรู้เรื่องพวกนี้แล้ว แต่ตอนโตหลายคนก็ยังไม่ได้เป็นแบบนี้เล้ย...

อ่อ...ข้อสุดท้ายที่เขาพูดถึงหนังสือ Dick and Janeนี่ อันนี้เป็น series ของตำราสำหรับเด็กที่ใช้สอนเด็กอเมริกันตั้งแต่ปี 1930s - 1970s ประมาณ มานี มานะ ปิติ ชูใจของเรา แต่เขาใช้สอนเด็กตั้งแต่ Grade 1-8

เอ... หนังสือมานี มานะ ปิติ ชูใจ นี่มันมีผลกับการเลือกเรียนคณะ หรือทำอาชีพมั้ยน้อ เห็นเดี๋ยวนี้เวลาเขาจะเรียนคณะอะไร จะทำงานอะไรให้นึกถึง มานี (Money) ซะเยอะ มานะ ปิติ ชูใจ ไม่ค่อยเหลือแระ

อ้าว... ชวนคุยเรื่องสิ่งที่ฉันต้องรู้ ฉันเรียนตอนอยู่อนุบาลดีๆ ไหงมาลง มานี ไม่มีมานะ ไม่ค่อยปิติ ไม่มีอะไรชูใจได้น้อ...

ภาพเก็บตกงานสัมมนารายการเด็กดีดีมีที่ไหน

ภาพเก็บตก
งานสัมมนา "รายการเด็กดีดีมีที่ไหน"
14 พ.ย. 52
ณ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์















:)











รวบรวมบทความเกี่ยวกับรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กที่เคยเขียนมาให้เพื่อนภาคีอ่านกัน

การผลิตรายการโทรทัศน์แบบไทย
ว่าด้วยเรื่องของการ์ตูน
การวางแผนการทำงานกับเด็ก โดย พี่เช็ค ทีวีบูรพา
บทความ โดย สุรวดี รักดี  นักวิจัยโครงการ TV4Kids /สมาชิกภาคีทีวีเด้กปฐมวัย

ถอดประสบการณ์คนทำทีวีเด็ก ตอนที่ 1
ถอดประสบการณ์คนทำทีวีเด็ก ตอนที่ 2 : ป่าใหญ่ครีเอชั่น
ถอดประสบการณ์คนทำทีวีเด็ก ตอนที่ 3 : เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเม้นท์
บทความ โดย อาจารย์ ทิพยลักษณ์ โกมลวณิช อาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์

ภาพบรรยากาศงานมหกรรมสื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนครั้งที่ 1

ภาคีทีวีเด็กปฐมวัย ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการจัดงานมหกรรมสื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนครั้งที่ 1  วันที่ 13 -14 พฤศจิกายน  2552 ณ หอประชุม สถาบันศูนย์วิจัยจุฬาภรณ์
โดยข้อเสนอในการขับเคลื่อนคือ การเพิ่มพื้นที่รายการโทรทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัยมากยิ่งขึ้นและการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์สำหรับเด็กโดยเฉพาะ







ตามหาสถานีทีวีเพื่อเด็ก

ตามหาสถานีทีวีเพื่อเด็ก


โดย: จินตะ



รายการทางทีวีของเด็กที่ควรดูจะเป็นแบบไหนดี



องค์การยูนิเซฟและคณะกรรมระหว่างประเทศของวิทยาลัย โทรทัศน์และศาสตร์แห่งชาติหรือนาตาส ได้ริเริ่มให้มี “วันโทรทัศน์และวิทยุเพื่vเด็ก” (International Children’s Day of Broadcasting) ในวันอาทิตย์ สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนธันวาคม และแม้รัฐบาลไทยจะเปิดทางด้วยมติคณะรัฐมนตรีมากว่า 2 ปีแล้วก็ตาม...เกิดอะไรขึ้นบ้างวงการทีวีบ้านเรา เราควรมีรายการทีวีเพื่อเด็กแบบไหน Kids and School ขอเชิญคนอื่นที่น่ารักร่วมเดินทางตามหาสถานีทีวีเพื่อเด็กไปพร้อมกันเลยค่ะ





เมื่อถึงวันโทรทัศน์และวิทยุเพื่อเด็กเวียนมาถึงในเดือนสุดท้ายของปี สถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์ทั่วโลกจะออกอากาศรายการคุณภาพที่เกี่ยวกับเด็ก และเพื่อเด็ก ที่สำคัญกว่านั้นยังเปิดโอกาสให้เด็กเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตรายการ เด็กๆ จากประเทศต่างๆ ได้กลายมาเป็นผู้สื่อข่าว เป็นผู้ควบคุมการผลิต เป็นผู้ถ่ายทำด้วยตนเอง ได้บันทึกเทปและรายงานเรื่องราวที่พวกเขาต้องการให้โลกได้ยินได้ฟัง และได้รับรู้ด้วยตนเอง เพื่อสื่อความฝันและความคิดเห็นของเขาผ่านสื่อต่างๆ ไปยังผู้ใหญ่และผู้บริหารของประเทศ



ในปัจจุบัน มีสื่อมวลชนทั้งด้านวิทยุและโทรทัศน์เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมวัน โทรทัศน์และวิทยุเพื่อเด็กมากกว่า 2,000 รายทั่วโลก ทำให้วันนี้มีความสำคัญและมีความเป็นสากลอย่างยิ่งอีกวันหนึ่ง เพราะหัวใจของความสำเร็จของวันโทรทัศน์และวิทยุเพื่อเด็กนี้ก็คือ การมีส่วนร่วมของเด็ก




จับตาสถานการณ์



สำหรับเมืองไทย นับตั้งแต่ 4 พฤศจิกายน 2546 ที่มีมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้สื่อโทรทัศน์ จัดสัดส่วนเวลาสำหรับเนื้อหาสาระของรายการทีวีเพื่อเด็ก เยาวชนและครอบครัวร้อยละ 10-15 ของเวลาออกอากาศทั้งหมด และกำหนดให้ต้องมีเวลาออกอากาศในช่วง 18.00-22.00 น. อย่างน้อย 1 ชั่วโมง



ผลการศึกษารายการทีวีไทย



โครงการศึกษาเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคมที่ได้ศึกษาของโครงการการเฝ้าระวังสื่อละครโทรทัศน์ยิ่งทำให้พ่อแม่และเด็กไทยเจอทางตันและไร้ทางเลือกเข้าไปทุกที


1. ละครยึดเวลาครอบครัว

คงพูดได้ไม่ผิดว่าช่วงเวลา 16.00 - 22.00 น. เป็นเวลาโทรทัศน์สำหรับครอบครัว ที่สมาชิกทุกคนได้ใช้เวลาร่วมกันมากที่สุด แต่กลับพบว่าเวลารายการโทรทัศน์ส่วนใหญ่มักเป็นรายการประเภทละคร



2. ความรุนแรงสูง

พบว่าละครส่วนใหญ่มีการนำเสนอเนื้อหาความรุนแรงในปริมาณมากที่สุด (3.29 ครั้ง/ชั่วโมง) รองลงมาคือเนื้อหาเรื่องอคติและภาพตัวแทน (1.34 ครั้ง/ชั่วโมง) โดยที่เนื้อหาทางเพศ และภาษาอยู่ในระดับต่ำคือ เพียง 0.25 และ 0.13 ครั้งต่อชั่วโมงเท่านั้น ส่งผลกระทบทางลบต่อพฤติกรรมเด็ก เช่น ความรุนแรง ก้าวร้าว



3. ละครหัวค่ำเน้นความรุนแรง

ละครช่วงหัวค่ำซึ่งเน้นผู้ชมกลุ่มเด็กและเยาวชน มีปริมาณเนื้อหาความรุนแรง ภาพตัวแทน และเรื่องเพศมากกว่าละครช่วงดึกซึ่งเน้นกลุ่มผู้ชมเป็นผู้ใหญ่เป็นหลัก



4. โฆษณาเกินกำหนด

กรมประชาสัมพันธ์ได้กำหนดสัดส่วนของการโฆษณาสินค้าและบริการต่อเนื้อหาว่า “ให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ทำการโฆษณาและบริการธุรกิจได้ไม่เกินชั่วโมงละ 12 นาที 30 วินาที แต่เมื่อรวมเวลาโฆษณาและบริการธุรกิจตลอดทั้งวัน เฉลี่ยต้องไม่เกินชั่วโมงละ 12 นาที แต่พบว่าสถานีโทรทัศน์ทุกช่องมีสัดส่วนการโฆษณาในรายการละครต่อชั่วโมงเกินค่าที่กำหนด







ตามหาสถานีทีวีเพื่อเด็ก

เมื่อฟรีทีวีเต็มไปด้วยโฆษณาและรายการที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมกับการเรียนรู้ของเด็ก พ่อแม่หลายคนจึงหันมาเลือกรายการยูบีซี แผ่นซีดี ซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และยังมีบางประเด็นที่ตอบสนองความต้องการไม่ได้ทั้งหมด จึงถึงเวลาแล้วที่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ต้องหันมาเรียกร้องเพื่อให้เกิดสื่อดีๆ ด้วยการมีส่วนร่วมในรูปแบบต่างๆ ค่ะ





1. ยุทธศาสตร์สื่อเพื่อเด็ก

คุณเข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการแผนพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้ของเด็กเยาวชนและครอบครัว สำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวถึงยุทธศาสตร์สื่อเพื่อเด็กว่า “องค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและต้องการสนับสนุนให้เกิดสื่อที่เหมาะกับการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชน ได้รวมตัวกันขึ้นเพื่อให้เกิดทีวีเพื่อเด็ก โดยมีเครือข่ายต่างๆ ที่ร่วมกันขับเคลื่อนให้สังคมตระหนักถึงประโยชน์ที่เด็กๆ จะได้เรียนรู้ผ่านรายการที่มีคุณภาพ ตลอดจนเห็นถึงโทษที่อาจเกิดกับเด็กเมื่อชมรายการที่มีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากรายการสำหรับเด็กที่มีไม่เพียงพอแล้ว บนฟรีทีวียังเต็มไปด้วยรายการที่ไม่เป็นประโยชน์แก่การเรียนรู้ของเด็กอีก”



2. รางวัล “คิดอะวอร์ด”

การให้เด็กๆ ได้ร่วมโหวตคะแนนรายการที่ชอบก็เป็นอีกทางหนึ่งในการแสดงความคิดเห็นของเด็กๆ ผ่าน www.childmedia.net และเครือข่ายเด็ก เยาวชน เพื่อหารายการและสถานีโทรทัศน์ในดวงใจ



3. Workshop และเวทีแลกเปลี่ยน



อาทิ กลุ่มผู้ผลิตสื่อโทรทัศน์เพื่อเด็ก หรือมีชื่อเล่นว่าทีวีดีดี โดยมีน้าอ้าว เกียรติสุดา ภิรมย์ แห่งรายการเจ้าขุนทองเป็นหัวหน้าคณะทำงานได้จัดมหกรรมทีวีดีดีเพือเด็กและเยาวชนครั้งที่ 1 เพื่อจุดประกายให้กับผู้ทำรายการโทรทัศน์หน้าใหม่ที่มีคุณภาพสำหรับเด็ก



ด้วยความร่วมแรงร่วมใจที่จะบอกความต้องการของเด็กและคุณพ่อคุณแม่ในฐานะผู้บริโภคสื่อ พลังเหล่านี้จะช่วยขับเคลื่อนให้เกิดสถานีทีวีที่มีรายการเพื่อเด็กและครอบครัว ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังตามหาสถานีที่ว่า...คุณและเจ้าตัวเล็กได้สิทธิ์นั้นเดี๋ยวนี้ค่ะ








ที่มา http://www.momypedia.com/knowledge/preschool/detail.aspx?no=10874&title=%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81http://www.momypedia.com/

สาส์นจาก คันชีวู

obmko อ่านว่าอะไร แปลว่าอะไร
ใครอยากเขียน นิทาน หรือ นิทาน หรือ นิทาน หรือ นิทาน
เห็นไหมแค่จะเขียนคำว่า "นิทาน" ยังคิดและเขียนได้ตั้งหลายแบบ
คิดต่อไปว่าจะเล่านิทานอย่างไร ใช้ภาพแบบไหน คิดได้ไม่รู้จบ
แต่ก่อนจะคิดจะฝันก่อนจะสร้างสรรค์
อยากชวนกันมาตั้งหลักให้มั่นปูฐานให้แน่นเท่าที่จะทำได้
มาแบ่งปันมาเรียนรู้ร่วมกัน เรียนรู้จากกันและกัน
และแน่นอน...ร่วมกันสร้างสรรค์เพื่อเด็ก เพื่อชาติและชาตินี้
อ้อ..คิดออกหรือยังว่า obmko แปลว่าอะไร

คันชีวู

ฟรี! อบรมบ่มเพาะคนทำนิทานทีวี รุ่นเห็ดเข็มทอง








เชิญร่วมสัมมนา "รายการทีวีเด็กดีดี.. มีที่ไหน?"


Twitter

คลังบทความ

Kid TV Network คือใคร?

เราคือ "ภาคีทีวีเด็กปฐมวัย"
การรวมพลคนปรารถนาดีที่จะทำรายการทีวีเพื่อเด็กปฐมวัย

ความเป็นมา

ณ สตูดิโอเห็ดหรรษา ซึ่งครั้งหนึ่งในอดีตเคยเป็นสถานที่ผลิตรายการ และที่ชุมนุมของสมาชิก “สโมสรผึ้งน้อย” การเด็กชื่อดังของเมืองไทยเกือบ 30 ปีก่อน วันนี้ สตูดิโอแห่งนี้กลับมีชีวิตชีวาอีกครั้ง ในฐานะผู้บ่มเพาะและฟูมฟักกลุ่มผู้มีไฟฝันผลิตรายการสำหรับเด็กปฐมวัย ภายใต้ชื่อ “ภาคีทีวีเด็ก”

โครงการอบรม “บทเพลงสถานีสร้างสรรค์รายการเพื่อเด็ก”ณ สตูดิโอเห็ดหรรษา มีคุณภัทรจารีย์ อัยศิริ หรือ “น้านิต แห่งสโมสรผึ้งน้อย” เจ้าของสถาบันเพื่อการเรียนรู้เห็ดหรรษา เป็นผู้ดำเนินการอบรม โดยได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจาก สสส. ระหว่างเดือนมีนาคม - มิถุนายน ๒๕๕๒

แม้ โครงการอบรมสิ้นสุดลง แต่ความสัมพันธ์ของกลุ่มต่างๆ ยังคงต่อเนื่อง เพื่อต่อยอดไอเดียของกลุ่มผู้เข้าอบรมขึ้นเป็นรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก มี “น้านิต” เป็นแกนนำ และสตูดิโอเห็ดหรรษาเป็นศูนย์กลางการพบปะสังสรรค์

ภาคีทีวีเด็ก กับวิสัยทัศน์ & พันธกิจ : สร้างสรรค์ “สถานีทีวีเด็ก” ... เติมส่วนที่ขาดหายให้สังคมไทย

วิสัยทัศน์ - Vision

เด็ก ไทยช่วงปฐมวัย และประถมต้น (อายุ 3-8 ปี) ได้ดูรายการโทรทัศน์คุณภาพซึ่งผลิตขึ้นสำหรับเด็ก ปราศจากสารปนเปื้อน ไร้มลพิษทางอารมณ์และจิตใจ ช่วยให้เด็กไทยมีพัฒนาการด้าน IQ, EQ, MQ, PQ ที่เหมาะสมกับวัย มีส่วนร่วมสร้างเด็กไทยให้เติบโตเป็นเยาวชนและผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในโลกโลกา ภิวัฒน์ โดยคงรากเหง้าความเป็นไทยไว้ได้อย่างเหมาะสม

พันธกิจ - Missions

1. ผู้สร้างสรรค์ “สถานีทีวีเด็ก”
2. อบรมและพัฒนาผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ที่สามารถผลิตรายการคุณภาพสำหรับเด็ก
3. รวบรวมสาขาวิชาชีพและวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก
4. ให้เด็กไทยมีโอกาสได้ชมรายการโทรทัศน์คุณภาพสำหรับเด็กอย่างเท่าเทียมกัน

สถานีทีวีเด็ก = ?

สถานีทีวีเด็ก เป็นทั้งสัญลักษณ์และโอกาสให้เด็กไทยได้ชมรายโทรทัศน์คุณภาพสำหรับเด็กอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าเด็กที่อยู่ในเขตเมือง หรือเด็กในพื้นที่ชนบท เด็กซึ่งผู้ปกครองมีฐานะดี หรือมีฐานะยากจน ... “สถานีทีวีเด็ก” จึงจัดให้มีช่องทางการเผยแพร่รายการเป็น 2 ช่องทางหลัก คือ

1. สถานีที่ไม่หวังผลกำไร (Non-commercial Channels) เช่น
สถานีทีวีไทย การออก event หรือจัดจำหน่ายแผ่นตามโรงเรียน

2. สถานีเชิงพาณิชย์ (Commercial Channels)
- การวางขายแผ่น cd, dvd ณ ร้าน B2S
- สถานีโทรทัศน์ฟรีทีวี 3, 5, 7, 9, 11, และเคเบิ้ลต่างๆ

ผู้ติดตาม

Webstats