Baby first TV เรื่องราวดีจากน้องจุง...

Baby FirstTV http://www.babyfirsttv.com/index_plst1.htm

ทีวีมีแต่โทษจริงหรือ?
ทีวีแม่แต่เรื่องน่าเป็นห่วงแค่นั้นเหรอ.....
วันนี้น้องจุงส่ง Link  เว็บTV network นี้มาให้ดู..
ลองดูกันละกัน..
คนรักเด็ก คนรักทีวี  Free commercail..
น่าขอทุนไปดูงานจัง.....

“มาทำความรู้จักกับการเขียน Story Board”

สรุปบทเรียนการอบรมบ่มเพาะคนทำนิทานทีวี

หัดวาด Story Board กับ อ. ทวีลาภ เอกธรรมกิจ
ตอนที่ 1 “มาทำความรู้จักกับการเขียน Story Board”
วันที่ 12 ธันวาคม 2552 ณ สตูดิโอเห็ดหรรษา


โดย... เมษา แจ่มฟ้า


“มาทำความรู้จักกับการเขียน Story Board”

Story Board คือ เครื่องมือที่ช่วยให้ผู้เขียนบท ผู้กำกับ ตากล้อง ตลอดจนนักแสดง ได้เข้าใจในบทมากยิ่งขึ้น และเห็นภาพร่วมกัน และเข้าใจตรงกัน

การวาด Story Board นั้นไม่จำเป็นต้องวาดรูปเก่งเสมอไปเพียงแค่วาดออกมาให้ดูเข้าใจ รู้เรื่องก็ใช้ได้แล้ว
ในการวาด Story Board ไม่นิยมเขียนข้อความลงไปในกรอบสี่เหลี่ยมเพราะจะรบกวนสายตาและมุมมองภาพ แต่อาจจะเขียนอธิบายกำกับมากขึ้นเพื่อความเข้าใจ โดยส่วนอธิบายมักอยู่ข้างล่างของภาพ

ลักษณะของ Story Board จะเป็นกรอบสี่เหลี่ยม เรียงกันตามเรื่องราว(บท) แทนกรอบของจอโทรทัศน์จะบอกเล่าเรื่องราวด้วยภาพ ซึ่งมีทั้งมุมมอง และขนาดภาพที่แตกต่างกัน

มุมภาพที่ใช้แทนสายตาแบ่งออกเป็นคร่าวๆดังนี้
Eye Level มุมระดับสายตา ความสูงของกล้อง จะอยู่ในระดับสายตา ผู้ชมจะเป็นภาพในระดับปกติเท่ากับความสูงของคนทั่วๆไป
Bird’s Eye View เป็นมุมสูงเหมือนสายตาของนกที่มองลงมา กล้องจะอยู่สูงกว่าวัตถุที่ต้องการถ่าย แล้วกดมุมกล้องลงมา ผู้ชมจะเห็นภาพในมุมสูงเหมือนอยู่ข้างบน
Ant’s Eye View เป็นมุมสายตาของมด กล้องจะอยู่ต่ำมากเหนือระดับพื้นดิน กล้องจะอยู่ต่ำกว่าวัตถุแล้วถ่ายเสยวัตถุขึ้นไป ผู้ชมจะเห็นภาพในมุมต่ำเหมือนแหงนหน้ามองดูสิ่งที่อยู่สูงกว่า


ขนาดของภาพที่ใช้เล่าเรื่องราว ยกตัวอย่างเปรียบเทียบกับมาตราส่วนของคนดังนี้
Extreme Long Shot ( ELS) ภาพระยะไกลสุด จะเห็นคนทั้งตัวและพื้นที่ๆยืนอยู่ ภาพของคนที่ได้จะเต็มตัวแต่มีขนาดเล็ก ถ้าเป็นทิวทัศน์จะเป็นทิวทัศน์ในระยะไกล เห็นภาพรวมของสิ่งที่ต้องการโชว์ทั้งหมด ใช้เพื่อให้เห้นภาพรวมของวัตถุ+บรรยากาศโดยรอบ
Long Shot ( LS) ภาพระยะไกล ถ้าเป็นคนจะเห็นเป็นคนที่เต็มตัว หรืออาจจะเรียกว่า Full Shot ก็ได้ ใช้เพื่อให้เห็นภาพโดยรวมของวัตถุทั้งหมด
Medium Shot ( MS ) ภาพระยะปานกลาง เห็นภาพตั้งแต่ต้นขาขึ้นไปจรดศีรษะ
Medium Close Up (MCU) ภาพระยะใกล้ปานกลาง เห็นคนในระดับอกขึ้นไป
Close Up ภาพระยะใกล้ (CU) เห็นภาพในระยะใกล้ จะเห็นคนแค่ใบหน้า
Extreme Close Up (ECU) ภาพระยะใกล้มาก เห็นใบหน้าแค่บางส่วน หรือเจาะเฉพาะอวัยวะ เช่นเฉพาะดวงตา จะเห็นรายละเอียดชัดเจนมาก ใช้เพื่อเน้นให้เห็นรายละเอียดของวัตถุหรือเน้นตัววัตถุอย่างมาก

ในการวาด story Board นี้ผู้วาดจำเป็นต้องเรียงลำดับเรื่องราวที่ต้องการแสดงให้เห็นให้ดีเสียก่อนว่าผู้ชมจะเห็นอะไรก่อนหลัง เห็นอะไรบ้างเน้นอะไรบ้างแล้วเขียนออกมาเป็นShot ตั้งแต่ต้นจนจบ เพื่อให้การเล่าเรื่องนั้นสมบูรณ์ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะสื่อ ทั้งนี้ยังต้องเลือกใช้มุมมองของภาพ ขนาดของภาพให้เหมาะสมและสื่อความหมาย รวมไปถึงทักษะการเปิดเรื่อง ดำเนินเรื่อง และปิดเรื่องให้น่าสนใจ อีกด้วย

:)

หัดวาด Storyboard กับ อ.ทวีลาภ เอกธรรมกิจ

บรรยากาศการอบรมบ่มเพาะคนทำนิทานทีวี
ในเรื่องการหัดวาดStoryBoardโดยอาจารย์ทวีลาภ เอกธรรมกิจ
เมื่อ 12 ธันวาคม 2552 เป็นสัปดาห์แรก
เริ่มด้วยการทำความรู้จักกับการเขียน Story Board
พวกเราได้หัดเขียน Story Board ง่ายๆด้วยเรื่องราวของตัวเอง
พร้อมความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเขียน ขนาดภาพ และตัวอย่างงานจริง
นอกจากนี้อาจารย์ยังได้ช่วยเพิ่มเติม Story Boardของแต่ละคน
ให้มีสีสันในการเล่าเรื่องให้น่าสนุกและชวนติดตาม
หลังเลิกเรียนมีประชุมภาคีอีกนิดหน่อยเพื่อร่วมระดมสมองคิดรายการกลางของพวกเรา
ส่วนความคืบหน้ารายการเป็นอย่างไรต้องติดตามต่อไปจ้ะ


ยกตัวอย่าง Story Board ของจริง











ขนาดภาพต่างๆในการเล่าเรื่อง











ล้อมวงดูงานวาด Story Boardของเพื่อนๆ













อาจารย์ช่วยเพิ่มเติมงานของแต่ละคนให้สนุกขึ้น



ประชุมภาคีปิดท้าย :)

ข้อเสนอในการเปิดพิ้นที่รายการโทรทัศน์สร้างสรรค์เพื่อเด็กปฐมวัย

ข้อเสนอในการเปิดพิ้นที่รายการโทรทัศน์สร้างสรรค์เพื่อเด็กปฐมวัย


โดย ภาคีทีวีเด็กปฐมวัย

ประการที่ 1 (Building new prime- time) พัฒนาช่องทางการออกอากาศรายเด็กในฟรีทีวีเดิมในช่วงเวลา 16.00 – 20.00 น. ให้เป็น Prime time ของเด็กจริงๆ เพิ่มมากขึ้นจำนวนรายการและครอบคลุมของทุกความหลากในทุกด้าน เช่น กลุ่มอายุของเด็ก ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ความหลากหลายของกลุ่มผู้ผลิต เป็นต้น

ข้อเสนอแนะเชิงวิธีการ

1. สำหรับกองทุนที่จะเกิดขึ้นควรนำมาสนับสนุนในเรื่องของค่าเวลาการออกอากาศในช่องฟรีทีวีเพื่อให้ ทางสถานีสามารถลดต้นทุนค่าเวลาได้เหมาะสม และเพื่อให้ผู้ผลิตหาผู้สนับสนุนได้ไม่ยากจนเกินไป

2. Matching Fund รายการโทรทัศน์ สำหรับเด็กกับองค์กรธุรกิจและรัฐวิสาหกิจ สนับสนุนให้มีการทำ CSR ในรูปแบบของรายการเด็กเพิ่มมากยิ่งขึ้น

3. ใช้กลไกฏหมายสนับสนุนการผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับกลุ่มเด็ก เช่น การลดหย่อนภาษี เป็นต้น



ประการที่ 2 พัฒนาคุณภาพเนื้อหาของรายการให้เหมาะสมกับระดับอายุเด็กแต่ละระดับ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กปฐมวัย รายการเด็กมีการสนับสนุนจากผู้สนับสนุนได้น้อยอยู่แล้ว ยังมีกฎหมายเรื่องโฆษณาขนม เนื่องจากสินค้าอื่นๆก็ไม่ได้มีกลุ่มเป้าหมายในรายการ จึงมีการปรับปรุงให้เป็น “ ท” คือ สร้างรายการที่คนตัดสินใจซื้อสินค้าดูแล้วถูกใจด้วย แต่เนื้อหาหลายประการอาจจะไม่ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กเล็ก

ข้อเสนอแนะเชิงวิธีการ

1. พัฒนาองค์กรเครือข่ายการทำงานร่วมกันของผู้ผลิตและกลุ่มผู้บริโภค (พ่อแม่ คุณครู) และผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆที่มีความปรารถนาดีต่อเด็ก อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง เพื่อร่วมสร้างแนวทางการผลิตรายการที่ตรงความต้องการและเนื้อหาทันสถานการณ์ปัจจุบันของสังคม

ประการที่ 3 ส่งเสริมผู้ผลิตรายการโทรทัศน์รุ่นใหม่ให้ตระหนักในความสำคัญของ “สื่อ” ต่อการพัฒนาเด็ก และพัฒนาศักยภาพของผู้ที่สนใจทำงานด้านการผลิตรายการสำหรับเด็ก

ข้อเสนอแนะเชิงวิธีการ

1. การร่วมพัฒนามาตรฐานในการผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กโดยกลุ่มผู้ผลิตร่วมกับสหวิชาชีพต่างๆ เช่น รายการเด็กต้องผ่านการเทสต์กับเด็กกลุ่มเป้าหมายก่อนออกอากาศ เป็นต้น

2. ทำข้อมูลพื้นฐานด้านผลิตรายการโทรทัศน์เด็กและ ข้อมูลของกลุ่มคนที่ทำงานด้านเด็ก ผู้ผลิต และผู้สนับสนุนเพื่อให้คนที่สนใจเข้ามาค้นคว้าได้

3. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ผลิตรายใหญ่และรายย่อย



สำหรับบทบาทการดำเนินงานของภาคีทีวีเด็กปฐมวัย

1. ระดมทรัพยากรทุนในด้านต่างๆ ทั้งบุคลากร ทุนทรัพย์ องค์ความรู้จากหลากหลายสาขาที่ต้องการทำรายการโทรทัศนำหรับเด็กเพื่อทำฐานข้อมูลความสามารถด้านต่างๆของภาคี เพื่อพัฒนาการทำงานร่วมกันต่อไป

2. จัดพัฒนาองค์ความรู้ด้านการผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กโดยผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ในรูปแบบของการอบรม

3. พัฒนาต้นแบบรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กและทดลองให้เด็กๆกลุ่มเป้าหมายรับชมเพื่อศึกษา โดยอยู่ขั้นตอนพัฒนามาตรฐานของการผลิตรายการเด็กปฐมวัยในกลุ่มสมาชิกภาคีด้วยกัน โดยรายละเอียดมีดังนี้ คือ

- Filed Test การทดลองนำเสนอรายการต่อเด็กกลุ่มเป้าหมาย ว่ามีความน่าสนใจเข้าถึงเด็กตามกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด หรือไม่

- Safety Test การนำต้นแบบรายการเพื่อให้นักวิชาการ (ตามแต่ละเนื้อหารายการ) เป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้อง

- Product test นำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิติเคราะห์ในเรื่องของการออกแบบรายการ ความน่าสนใจ

- Costumer ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดประเมินมูลค่าทางการตลาดของแต่ละรายการภาคีทำขึ้น รวมทั้งกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครอง

ใครเป็นใครในภาคีทีวีเด็กปฐมวัย

สถานัทีวีของเด็กกับนานาเหตุผล...

หากวันนี้....เมืองไทย
จะมีสถานีทีวีสำหรับเด็กโดยเฉพาะ...จะดีอย่างไร?
ดีกับใคร?
ทำไมต้องมี?
แล้วจะมีเมื่อไร?
คิดออกช่วย  comment มาทีนะคะ

All I Really Need To Know I Learned In Kindergarten

ไม่รู้มีใครเคยผ่านๆ หนังสือเล่มนี้บ้างหรือเปล่า?


"สิ่งที่ฉันต้องรู้ ฉันเรียนตอนอยู่อนุบาล" เขียนโดย Robert Fulghum เข้าใจว่ามีคนแปลเป็นภาษาไทยด้วยแหละ เอามาเล่าสู่กันฟัง เผื่อจะเป็นประโยชน์กับภาคีจะเอาไปทำประโยชน์ได้มั่ง

หนังสือเรื่องนี้เป็นเรื่องของผู้ใหญ่ที่มองย้อนไปสู่วัยเด็กว่า เอ... จริงๆ พฤติกรรมของผู้ใหญ่ที่ห่วยๆ นี่ ที่จริงคุณครูอนุบาลก็สอนกันมาแล้วนี่นา (ทำไมมันยังห่วยๆ อยู่ได้น้าาา)

ตอนเด็กๆ เราถูกสอนให้รู้จักนี่... พวกนี้เลย:
  • แบ่งปันกัน
    (Share everything.)
  • เล่นกันอย่างแฟร์ๆ ไม่เอาเปรียบคนอื่นเขา
    (Play fair.)
  • อย่าทุบตีคนอื่นเขา
    (Don't hit people.)
  • เวลาใช้อะไรแล้ว รู้จักเก็บเข้าที่เดิมด้วย
    (Put things back where you found them.)
  • เวลาทำไรสกปรกแล้ว... ติดตามผลงานด้วยจ้าาา
    (Clean up your own mess.)
  • ไม่ไปอุบอิ๊บของคนอื่นมาเป็นของตัว
    (Don't take things that aren't yours.)
  • พูดคำว่า ขอโทษ เวลาทำให้คนอื่น "เจ็บ"
    (Say you're sorry when you hurt somebody.)
  • ล้างมือก่อนกินข้าว
    (Wash your hands before you eat.)
  • เวลาเข้าส้วมแล้ว กดน้ำด้วย
    (Flush.)
  • ใช้ชีวิตให้ลงตัวในแต่ละวัน เรียนบ้าง คิดบ้าง วาดรูปบ้าง ระบายสีบ้าง ร้องเพลงบ้าง เต้นบ้าง เล่นบ้าง และทำงานบ้าง
    (Live a balanced life - learn some and think some and draw and paint and sing and dance and play and work every day some.)
  • งีบตอนบ่าย
    (Take a nap every afternoon.)
  • เวลาออกไปข้างนอก ระวังรถ จับมือกัน และอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่ม
    (When you go out into the world, watch out for traffic, hold hands, and stick together.)
  • ยอมรับความมหัศจรรย์
    (Be aware of wonder.) เหมือนกับเราเพาะเมล็ดแล้ว ทำไมต้นมันถึงชี้ขึ้นฟ้า แล้วก็รากทิ่มลงดิน ซึ่งก็ไม่มีใครให้คำตอบกับสิ่งเหล่านี้ได้
  • ปลาทอง หนู (สัตว์เลี้ยง) ตายได้ เช่นเดียวกับเรา
    (Goldfish and hamsters and white mice and even the little seed in the Styrofoam cup - they all die. So do we.)
  • คำแรกที่เราเรียนรู้ และเป็นคำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือคำว่า "ดู"
    (And then remember the Dick-and-Jane books and the first word you learned - the biggest word of all - LOOK.)
เออเนอะ ทำไมเราเรียนรู้เรื่องพวกนี้แล้ว แต่ตอนโตหลายคนก็ยังไม่ได้เป็นแบบนี้เล้ย...

อ่อ...ข้อสุดท้ายที่เขาพูดถึงหนังสือ Dick and Janeนี่ อันนี้เป็น series ของตำราสำหรับเด็กที่ใช้สอนเด็กอเมริกันตั้งแต่ปี 1930s - 1970s ประมาณ มานี มานะ ปิติ ชูใจของเรา แต่เขาใช้สอนเด็กตั้งแต่ Grade 1-8

เอ... หนังสือมานี มานะ ปิติ ชูใจ นี่มันมีผลกับการเลือกเรียนคณะ หรือทำอาชีพมั้ยน้อ เห็นเดี๋ยวนี้เวลาเขาจะเรียนคณะอะไร จะทำงานอะไรให้นึกถึง มานี (Money) ซะเยอะ มานะ ปิติ ชูใจ ไม่ค่อยเหลือแระ

อ้าว... ชวนคุยเรื่องสิ่งที่ฉันต้องรู้ ฉันเรียนตอนอยู่อนุบาลดีๆ ไหงมาลง มานี ไม่มีมานะ ไม่ค่อยปิติ ไม่มีอะไรชูใจได้น้อ...

Twitter

Kid TV Network คือใคร?

เราคือ "ภาคีทีวีเด็กปฐมวัย"
การรวมพลคนปรารถนาดีที่จะทำรายการทีวีเพื่อเด็กปฐมวัย

ความเป็นมา

ณ สตูดิโอเห็ดหรรษา ซึ่งครั้งหนึ่งในอดีตเคยเป็นสถานที่ผลิตรายการ และที่ชุมนุมของสมาชิก “สโมสรผึ้งน้อย” การเด็กชื่อดังของเมืองไทยเกือบ 30 ปีก่อน วันนี้ สตูดิโอแห่งนี้กลับมีชีวิตชีวาอีกครั้ง ในฐานะผู้บ่มเพาะและฟูมฟักกลุ่มผู้มีไฟฝันผลิตรายการสำหรับเด็กปฐมวัย ภายใต้ชื่อ “ภาคีทีวีเด็ก”

โครงการอบรม “บทเพลงสถานีสร้างสรรค์รายการเพื่อเด็ก”ณ สตูดิโอเห็ดหรรษา มีคุณภัทรจารีย์ อัยศิริ หรือ “น้านิต แห่งสโมสรผึ้งน้อย” เจ้าของสถาบันเพื่อการเรียนรู้เห็ดหรรษา เป็นผู้ดำเนินการอบรม โดยได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจาก สสส. ระหว่างเดือนมีนาคม - มิถุนายน ๒๕๕๒

แม้ โครงการอบรมสิ้นสุดลง แต่ความสัมพันธ์ของกลุ่มต่างๆ ยังคงต่อเนื่อง เพื่อต่อยอดไอเดียของกลุ่มผู้เข้าอบรมขึ้นเป็นรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก มี “น้านิต” เป็นแกนนำ และสตูดิโอเห็ดหรรษาเป็นศูนย์กลางการพบปะสังสรรค์

ภาคีทีวีเด็ก กับวิสัยทัศน์ & พันธกิจ : สร้างสรรค์ “สถานีทีวีเด็ก” ... เติมส่วนที่ขาดหายให้สังคมไทย

วิสัยทัศน์ - Vision

เด็ก ไทยช่วงปฐมวัย และประถมต้น (อายุ 3-8 ปี) ได้ดูรายการโทรทัศน์คุณภาพซึ่งผลิตขึ้นสำหรับเด็ก ปราศจากสารปนเปื้อน ไร้มลพิษทางอารมณ์และจิตใจ ช่วยให้เด็กไทยมีพัฒนาการด้าน IQ, EQ, MQ, PQ ที่เหมาะสมกับวัย มีส่วนร่วมสร้างเด็กไทยให้เติบโตเป็นเยาวชนและผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในโลกโลกา ภิวัฒน์ โดยคงรากเหง้าความเป็นไทยไว้ได้อย่างเหมาะสม

พันธกิจ - Missions

1. ผู้สร้างสรรค์ “สถานีทีวีเด็ก”
2. อบรมและพัฒนาผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ที่สามารถผลิตรายการคุณภาพสำหรับเด็ก
3. รวบรวมสาขาวิชาชีพและวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก
4. ให้เด็กไทยมีโอกาสได้ชมรายการโทรทัศน์คุณภาพสำหรับเด็กอย่างเท่าเทียมกัน

สถานีทีวีเด็ก = ?

สถานีทีวีเด็ก เป็นทั้งสัญลักษณ์และโอกาสให้เด็กไทยได้ชมรายโทรทัศน์คุณภาพสำหรับเด็กอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าเด็กที่อยู่ในเขตเมือง หรือเด็กในพื้นที่ชนบท เด็กซึ่งผู้ปกครองมีฐานะดี หรือมีฐานะยากจน ... “สถานีทีวีเด็ก” จึงจัดให้มีช่องทางการเผยแพร่รายการเป็น 2 ช่องทางหลัก คือ

1. สถานีที่ไม่หวังผลกำไร (Non-commercial Channels) เช่น
สถานีทีวีไทย การออก event หรือจัดจำหน่ายแผ่นตามโรงเรียน

2. สถานีเชิงพาณิชย์ (Commercial Channels)
- การวางขายแผ่น cd, dvd ณ ร้าน B2S
- สถานีโทรทัศน์ฟรีทีวี 3, 5, 7, 9, 11, และเคเบิ้ลต่างๆ

ผู้ติดตาม

Webstats