“มาทำความรู้จักกับการเขียน Story Board”

สรุปบทเรียนการอบรมบ่มเพาะคนทำนิทานทีวี

หัดวาด Story Board กับ อ. ทวีลาภ เอกธรรมกิจ
ตอนที่ 1 “มาทำความรู้จักกับการเขียน Story Board”
วันที่ 12 ธันวาคม 2552 ณ สตูดิโอเห็ดหรรษา


โดย... เมษา แจ่มฟ้า


“มาทำความรู้จักกับการเขียน Story Board”

Story Board คือ เครื่องมือที่ช่วยให้ผู้เขียนบท ผู้กำกับ ตากล้อง ตลอดจนนักแสดง ได้เข้าใจในบทมากยิ่งขึ้น และเห็นภาพร่วมกัน และเข้าใจตรงกัน

การวาด Story Board นั้นไม่จำเป็นต้องวาดรูปเก่งเสมอไปเพียงแค่วาดออกมาให้ดูเข้าใจ รู้เรื่องก็ใช้ได้แล้ว
ในการวาด Story Board ไม่นิยมเขียนข้อความลงไปในกรอบสี่เหลี่ยมเพราะจะรบกวนสายตาและมุมมองภาพ แต่อาจจะเขียนอธิบายกำกับมากขึ้นเพื่อความเข้าใจ โดยส่วนอธิบายมักอยู่ข้างล่างของภาพ

ลักษณะของ Story Board จะเป็นกรอบสี่เหลี่ยม เรียงกันตามเรื่องราว(บท) แทนกรอบของจอโทรทัศน์จะบอกเล่าเรื่องราวด้วยภาพ ซึ่งมีทั้งมุมมอง และขนาดภาพที่แตกต่างกัน

มุมภาพที่ใช้แทนสายตาแบ่งออกเป็นคร่าวๆดังนี้
Eye Level มุมระดับสายตา ความสูงของกล้อง จะอยู่ในระดับสายตา ผู้ชมจะเป็นภาพในระดับปกติเท่ากับความสูงของคนทั่วๆไป
Bird’s Eye View เป็นมุมสูงเหมือนสายตาของนกที่มองลงมา กล้องจะอยู่สูงกว่าวัตถุที่ต้องการถ่าย แล้วกดมุมกล้องลงมา ผู้ชมจะเห็นภาพในมุมสูงเหมือนอยู่ข้างบน
Ant’s Eye View เป็นมุมสายตาของมด กล้องจะอยู่ต่ำมากเหนือระดับพื้นดิน กล้องจะอยู่ต่ำกว่าวัตถุแล้วถ่ายเสยวัตถุขึ้นไป ผู้ชมจะเห็นภาพในมุมต่ำเหมือนแหงนหน้ามองดูสิ่งที่อยู่สูงกว่า


ขนาดของภาพที่ใช้เล่าเรื่องราว ยกตัวอย่างเปรียบเทียบกับมาตราส่วนของคนดังนี้
Extreme Long Shot ( ELS) ภาพระยะไกลสุด จะเห็นคนทั้งตัวและพื้นที่ๆยืนอยู่ ภาพของคนที่ได้จะเต็มตัวแต่มีขนาดเล็ก ถ้าเป็นทิวทัศน์จะเป็นทิวทัศน์ในระยะไกล เห็นภาพรวมของสิ่งที่ต้องการโชว์ทั้งหมด ใช้เพื่อให้เห้นภาพรวมของวัตถุ+บรรยากาศโดยรอบ
Long Shot ( LS) ภาพระยะไกล ถ้าเป็นคนจะเห็นเป็นคนที่เต็มตัว หรืออาจจะเรียกว่า Full Shot ก็ได้ ใช้เพื่อให้เห็นภาพโดยรวมของวัตถุทั้งหมด
Medium Shot ( MS ) ภาพระยะปานกลาง เห็นภาพตั้งแต่ต้นขาขึ้นไปจรดศีรษะ
Medium Close Up (MCU) ภาพระยะใกล้ปานกลาง เห็นคนในระดับอกขึ้นไป
Close Up ภาพระยะใกล้ (CU) เห็นภาพในระยะใกล้ จะเห็นคนแค่ใบหน้า
Extreme Close Up (ECU) ภาพระยะใกล้มาก เห็นใบหน้าแค่บางส่วน หรือเจาะเฉพาะอวัยวะ เช่นเฉพาะดวงตา จะเห็นรายละเอียดชัดเจนมาก ใช้เพื่อเน้นให้เห็นรายละเอียดของวัตถุหรือเน้นตัววัตถุอย่างมาก

ในการวาด story Board นี้ผู้วาดจำเป็นต้องเรียงลำดับเรื่องราวที่ต้องการแสดงให้เห็นให้ดีเสียก่อนว่าผู้ชมจะเห็นอะไรก่อนหลัง เห็นอะไรบ้างเน้นอะไรบ้างแล้วเขียนออกมาเป็นShot ตั้งแต่ต้นจนจบ เพื่อให้การเล่าเรื่องนั้นสมบูรณ์ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะสื่อ ทั้งนี้ยังต้องเลือกใช้มุมมองของภาพ ขนาดของภาพให้เหมาะสมและสื่อความหมาย รวมไปถึงทักษะการเปิดเรื่อง ดำเนินเรื่อง และปิดเรื่องให้น่าสนใจ อีกด้วย

:)

หัดวาด Storyboard กับ อ.ทวีลาภ เอกธรรมกิจ

บรรยากาศการอบรมบ่มเพาะคนทำนิทานทีวี
ในเรื่องการหัดวาดStoryBoardโดยอาจารย์ทวีลาภ เอกธรรมกิจ
เมื่อ 12 ธันวาคม 2552 เป็นสัปดาห์แรก
เริ่มด้วยการทำความรู้จักกับการเขียน Story Board
พวกเราได้หัดเขียน Story Board ง่ายๆด้วยเรื่องราวของตัวเอง
พร้อมความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเขียน ขนาดภาพ และตัวอย่างงานจริง
นอกจากนี้อาจารย์ยังได้ช่วยเพิ่มเติม Story Boardของแต่ละคน
ให้มีสีสันในการเล่าเรื่องให้น่าสนุกและชวนติดตาม
หลังเลิกเรียนมีประชุมภาคีอีกนิดหน่อยเพื่อร่วมระดมสมองคิดรายการกลางของพวกเรา
ส่วนความคืบหน้ารายการเป็นอย่างไรต้องติดตามต่อไปจ้ะ


ยกตัวอย่าง Story Board ของจริง











ขนาดภาพต่างๆในการเล่าเรื่อง











ล้อมวงดูงานวาด Story Boardของเพื่อนๆ













อาจารย์ช่วยเพิ่มเติมงานของแต่ละคนให้สนุกขึ้น



ประชุมภาคีปิดท้าย :)

Twitter

Kid TV Network คือใคร?

เราคือ "ภาคีทีวีเด็กปฐมวัย"
การรวมพลคนปรารถนาดีที่จะทำรายการทีวีเพื่อเด็กปฐมวัย

ความเป็นมา

ณ สตูดิโอเห็ดหรรษา ซึ่งครั้งหนึ่งในอดีตเคยเป็นสถานที่ผลิตรายการ และที่ชุมนุมของสมาชิก “สโมสรผึ้งน้อย” การเด็กชื่อดังของเมืองไทยเกือบ 30 ปีก่อน วันนี้ สตูดิโอแห่งนี้กลับมีชีวิตชีวาอีกครั้ง ในฐานะผู้บ่มเพาะและฟูมฟักกลุ่มผู้มีไฟฝันผลิตรายการสำหรับเด็กปฐมวัย ภายใต้ชื่อ “ภาคีทีวีเด็ก”

โครงการอบรม “บทเพลงสถานีสร้างสรรค์รายการเพื่อเด็ก”ณ สตูดิโอเห็ดหรรษา มีคุณภัทรจารีย์ อัยศิริ หรือ “น้านิต แห่งสโมสรผึ้งน้อย” เจ้าของสถาบันเพื่อการเรียนรู้เห็ดหรรษา เป็นผู้ดำเนินการอบรม โดยได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจาก สสส. ระหว่างเดือนมีนาคม - มิถุนายน ๒๕๕๒

แม้ โครงการอบรมสิ้นสุดลง แต่ความสัมพันธ์ของกลุ่มต่างๆ ยังคงต่อเนื่อง เพื่อต่อยอดไอเดียของกลุ่มผู้เข้าอบรมขึ้นเป็นรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก มี “น้านิต” เป็นแกนนำ และสตูดิโอเห็ดหรรษาเป็นศูนย์กลางการพบปะสังสรรค์

ภาคีทีวีเด็ก กับวิสัยทัศน์ & พันธกิจ : สร้างสรรค์ “สถานีทีวีเด็ก” ... เติมส่วนที่ขาดหายให้สังคมไทย

วิสัยทัศน์ - Vision

เด็ก ไทยช่วงปฐมวัย และประถมต้น (อายุ 3-8 ปี) ได้ดูรายการโทรทัศน์คุณภาพซึ่งผลิตขึ้นสำหรับเด็ก ปราศจากสารปนเปื้อน ไร้มลพิษทางอารมณ์และจิตใจ ช่วยให้เด็กไทยมีพัฒนาการด้าน IQ, EQ, MQ, PQ ที่เหมาะสมกับวัย มีส่วนร่วมสร้างเด็กไทยให้เติบโตเป็นเยาวชนและผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในโลกโลกา ภิวัฒน์ โดยคงรากเหง้าความเป็นไทยไว้ได้อย่างเหมาะสม

พันธกิจ - Missions

1. ผู้สร้างสรรค์ “สถานีทีวีเด็ก”
2. อบรมและพัฒนาผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ที่สามารถผลิตรายการคุณภาพสำหรับเด็ก
3. รวบรวมสาขาวิชาชีพและวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก
4. ให้เด็กไทยมีโอกาสได้ชมรายการโทรทัศน์คุณภาพสำหรับเด็กอย่างเท่าเทียมกัน

สถานีทีวีเด็ก = ?

สถานีทีวีเด็ก เป็นทั้งสัญลักษณ์และโอกาสให้เด็กไทยได้ชมรายโทรทัศน์คุณภาพสำหรับเด็กอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าเด็กที่อยู่ในเขตเมือง หรือเด็กในพื้นที่ชนบท เด็กซึ่งผู้ปกครองมีฐานะดี หรือมีฐานะยากจน ... “สถานีทีวีเด็ก” จึงจัดให้มีช่องทางการเผยแพร่รายการเป็น 2 ช่องทางหลัก คือ

1. สถานีที่ไม่หวังผลกำไร (Non-commercial Channels) เช่น
สถานีทีวีไทย การออก event หรือจัดจำหน่ายแผ่นตามโรงเรียน

2. สถานีเชิงพาณิชย์ (Commercial Channels)
- การวางขายแผ่น cd, dvd ณ ร้าน B2S
- สถานีโทรทัศน์ฟรีทีวี 3, 5, 7, 9, 11, และเคเบิ้ลต่างๆ

ผู้ติดตาม

Webstats